วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ตรวจสอบและทบทวน


           ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้นวิเคราะห์ภาระงานปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการระบุงานและภาระงานโดยใช้แนวทางการวิเคราะห์ภาระงานของหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานและระบุเป็นชิ้นงานหรือภาระงานที่ผู้เรียนปฏิบัติการออกแบบภาระงานที่ผู้เรียนต้องใช้ความรู้และทักษะ( ขั้นการกำหนดจุดหมายการเรียนรู้ setting learning goals ) ลักษณะสำคัญของงานคือต้องกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจให้ กับผู้เรียนมีความท้าทายและไม่ยากเกินไปจนผู้เรียนทำไม่ได้ในขณะเดียวกันและครอบคลุมสาระสำคัญทางวิชาและทักษะที่ลึกซึ้งเพื่อให้สามารถนำผลการประเมินไปใช้อย่างสมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือ 
เรื่อง  ชื่อเรื่อง เงา
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
สาระการเรียนรู้  เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก   หน่วย ตัวเด็ก   
1. จุดประสงค์
            1. นักเรียนเด็กสามารถเปรียบเทียบ ขนาดเมื่อขยับไฟฉายเข้าหรือออกจากวัตถุ
            2. นักเรียนบอกได้ว่าเงาของวัตถุเกิดจากแหล่งกำเนิดแสง
2. สาระที่ควรเรียนรู้
            - เงาเกิดขึ้นเมื่อวัตถุทึบแสงขวางการเดินทางของแสงเนื่องจาก แสงเดินทางเป็นเส้นตรงลำแสงที่ส่องไปยังวัตถุทึบแสงจะถูก ดูดกลืนหรือสะท้อนกับพื้นผิวของวัตถุการตัดกันของความ สว่างและความมืดทำให้เราเห็นเป็นเงา
ภาพรวมการทดลอง
3. ประสบการณ์สำคัญ
            - การคิด  การรับรู้และแสดงความรู้สึกผ่านการทดลอง
            - การเปรียบเทียบ ขนาด ลักษณะของเงา
            - การใช้ประสานสัมพันธ์มือกับตา
            - การรู้จักสังเกต  สิ่งต่างๆ ด้วยการมอง  เปรียบเทียบ จินตนาการ
4. ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
            1. นักเรียนและครูแนะนำตัวทำความรู้จัก
            2. ครูกระตุ้นคำถาม   เด็ก ๆ “เคยเห็นเงาอะไรบ้างคะ
            3. ฝึกเด็กตั้งสมมติฐาน  ด้วยการถามกระตุ้น  เด็ก ๆ คิดว่าเงาเกิดจากอะไรคะ
            4. ครูนำแผ่นชาร์ตการทดลองมาให้นักเรียนดู  พร้อมอธิบายการทดลองดังนี้
                                    การทดลอง เงาของตุ๊กตาจะทอดยาวเมื่อไร
                        วัสดุอุปกรณ์
1. ไฟฉายที่มีกำลังไฟสูงและให้แสงไฟสม่ำเสมอ
2. ผนังสีขาวหรือกระดาษแข็งสีขาวแผ่นใหญ่
3. วัตถุที่สร้างเงาได้เช่นตุ๊กตา
                        ขั้นตอนการทดลอง
                                    l. การทดลองนี้ควรทำในห้องมืดแหล่งกำเนิดแสงควรมีลักษณะเป็นจุดเช่นหลอดไฟหรือ         
                                            หลอดไฟแฮโลเจนจะสร้างเงาที่คมชัด
2. จากนั้นให้เด็ก  ขยับวัตถุเข้าใกล้ผนังหรือกระดาษแข็งโดยแต่ละคนใช้ไฟฉายสร้างเงาของ
                                             วัตถุบนผนังกระดาษแข็งหรือพื้น โดยให้สังเกตว่าแสงไฟส่องจากทิศทางใดบ้าง
                                    3. เมื่อขยับไฟฉายเข้าหรือออกจากวัตถุ ขนาดความเข้มและตำแหน่งของเงา
    มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
                                    4. ครูชักชวนให้นักเรียน ทำการทดลอง
            5. สาธิตการทดลองให้เด็กดู
            6. ให้นักเรียนอาสาสมัครมาทำการทดลองดู
            7. ครูชักชวนให้นักเรียนทำการทดลอง
8. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลการทดลองว่า เงาเกิดขึ้นเมื่อมีแสงส่องไปยังวัตถุทึบแสงเนื่องจากแสง เดินทางเป็นเส้นตรงลำแสงที่ส่องไปยังวัตถุทึบแสงจะถูก ดูดกลืนหรือสะท้อนกับพื้นผิวจากวัตถุการตัดกันของ
ความสว่างและความมืดทำให้เราเห็นเป็นเงา
5. สื่อ
1. ไฟฉายที่มีกำลังไฟสูงและให้แสงไฟสม่ำเสมอ
2. ผนังสีขาวหรือกระดาษแข็งสีขาวแผ่นใหญ่
3. วัตถุที่สร้างเงาได้เช่นตุ๊กตา
4. แผ่นชาร์ตการทดลอง
5. แบบบันทึกการทดลอง
6. การประเมินผล
            1. สังเกตการณ์บอกการเปรียบเทียบ
            2. สังเกตการสนทนาและการตอบคำถาม
            3. สังเกตการบันทึกผลการทดลอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น