วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ตรวจสอบและทบทวน

ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น กำหนดจุดหมายของการเรียนรู้ ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการระบุสาระ มาตรฐานและตัวชี้วัด จากหลักสูตรที่ตรงกับสาขาเอกหรือกลุ่มสาระที่สนใจแล้วเขียนข้อความที่แสดงว่าผู้เรียนจะเรียนรู้อะไรและสามารถทำอะไรได้ข้อความที่เป็นความรู้โดยการระบุความรู้ในรูปของสารสนเทศ(declative knowledge) (ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง…)  และข้อความที่เป็นการปฏิบัติโดยการระบุทักษะการปฏิบัติหรือกระบวนการ(procedural knowledge) ( เช่นผู้เรียนสามารถที่จะปฏิบัติหรือกระทำเรื่อง…)
เรื่อง  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
สาระการเรียนรู้  ธรรมชาติรอบตัวเด็ก   หน่วย ปลาน้อย
1. มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่ และกล้ามเนื้อเล็กที่แข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว และประสานสัมพันธ์กัน
                        ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 เคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่วและทรงตัวได้ดี
มาตรฐานที่ 4 ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว   และรักการออกกำลังกาย
                        ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 สนใจและมีความสุขกับศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
มาตรฐานที่ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                        ตัวบ่งชี้ที่ 8.2 เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

2. สาระการเรียนรู้
2.1 สาระที่ควรเรียนรู้
                 -การเคลื่อนไหวร่างกายแบบผู้นำ-ผู้ตาม
            2.2 ประสบการณ์สำคัญ
                 -การเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
                 -การแสดงปฏิกิริยาตอบโต้เสียงดนตรี
                 -การเริ่มต้นและการหยุดกระทำโดยสัญญาณ
                                               
3.จุดประสงค์การเรียนรู้
            3.1 เพื่อให้เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายเป็นผู้นำและผู้ตามได้
            3.2 เพื่อให้เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะและสัญญาณได้
3.3 เพื่อให้เด็กสามารถแสดงท่าทางด้วยความมั่นใจ

4.กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

            ขั้นนำ
            4.1 เด็กและครูร่วมกันสร้างข้อตกลงโดยให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายไปทั่วบริเวณห้องอย่างอิสระตามเสียงฉิ่ง เช่น ถ้าครูตีฉิ่งช้าๆ ให้เด็กเดินช้าๆ ตามจังหวะของเสียงฉิ่ง ถ้าครูตีฉิ่งเร็วๆ ให้เด็กๆ วิ่งตามจังหวะของฉิ่ง ถ้าครูหยุดตีฉิ่ง ให้เด็กหยุดเคลื่อนไหวในท่านั้นทันที โดยขณะเคลื่อนไหวเด็ก ๆ ต้องระมัดระวังไม่ให้ชนกับเพื่อนถ้าชนเพื่อนต้องขอโทษทันที

ขั้นสอน
             4.2. เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายแบบผู้นำ-ผู้ตาม เช่น
                        -วันนี้ครูมีกิจกรรมให้เด็กๆทำชื่อกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายแบบผู้นำ-ผู้ตาม
             4.3. เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายแบบผู้นำ-ผู้ตามดังนี้
                        -ให้เด็กยืนแถวตอน ผู้ชาย 2 แถว ผู้หญิง 3 แถว
                        -หาอาสาสมัครออกมาเป็นผู้นำแสดงท่าทางของปลาในแบบต่างๆ ตามจินตนาการ
                        -เมื่อเพื่อนที่เป็นผู้นำ ทำท่าอย่างไร ให้เพื่อนที่เหลือทำท่าทางตามที่ผู้นำแสดง
                        -ให้เด็กๆ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนสลับกันออกมาเป็นผู้นำจนครบทุกคน
             4.4. เด็กและครูร่วมกันหาอาสาสมัครออกมาทดลองปฏิบัติกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายแบบผู้นำ-ผู้ตาม เช่น
                        - ใครจะออกมาแสดงท่าทางปลาให้เพื่อนดูบ้างคะ
            4.5.เด็กและครูร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายแบบผู้นำ ผู้ตาม ตามข้อ 4.3 สลับหมุนเวียนกันไปจนครบทุกคน

ขั้นสรุป
4.6.เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายแบบผู้นำ ผู้ตาม เช่น
            -เด็กๆ แสดงท่าทางปลาอย่างไรบ้าง
            -ใครทำท่าปลาได้เหมือนปลามากที่สุดและทำท่าอย่างไร
4.7.เมื่อเสร็จกิจกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น