การจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research - Based Learning : RBL)
1. ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน
ล้วน
สายยศ และอังคณา สายยศ (2538 : 47) ให้ความหมายของการวิจัยว่า
เป็นกระบวนการสืบหาความจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ตามธรรมชาติอย่างมีระบบ มีการควบคุม
การสังเกตการบันทึก การจัดระเบียบข้อมูล
การวิเคราะห์และตีความหมายเพื่อให้ได้เป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำมาสร้างเป็นข้อสรุปเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์นั้น
ๆ และนำผลที่ได้มาพัฒนาหรือสร้างกฎ ทฤษฎี ที่ทำให้ควบคุม หรือทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ
ได้
เสาวนีย์
กานต์เดชารักษ์ (2539 : 27-29) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐานไว้ว่าเป็นการนำแนวคิดการวิจัยมาเป็นพื้นฐานในการเรียนการสอนและผสมผสานวิธีการสอนแบบต่าง
ๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง จากตำราเอกสารสื่อต่าง
ๆ คำบอกเล่าของอาจารย์ รวมทั้งจากผลการวิจัย และงานวิจัยต่าง ๆ
ตลอดจนทำรายงานหรือทำวิจัยได้
อมรวิชช์
นาครทรรพ (2546 : 12) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน
ไว้ว่าเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการศึกษาค้นคว้าและค้นพบข้อเท็จจริงต่าง
ๆ ในเรื่องที่ศึกษาด้วยตนเอง
โดยอาศัยกระบวนการวิจัยอย่างเป็นระบบเป็นเครื่องมือสำคัญ
สมหวัง
พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม (2547 : 37) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับ การจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน ไว้ว่า
เป็นการสอนเนื้อหาวิชา เรื่องราวกระบวนการทักษะ และอื่น ๆ
โดยใช้รูปแบบการสอนชนิดที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เนื้อหาหรือสิ่งต่าง ๆ
ที่ต้องการสอนนั้น โดยอาศัยพื้นฐานกระบวนการวิจัย
ทิศนา
แขมมณี (2548 : 3) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐานหรือใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
ก็คือ
การจัดให้ผู้เรียนและใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการสืบสอบในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาวิจัย
ในการดำเนินการแสวงหาความรู้ใหม่หรือคำตอบที่เชื่อถือได้
จรัส
สุวรรณเวลา (2546 : 16) ได้ให้ความหมายของการวิจัยว่า
เป็นการได้มาซึ่งความรู้ที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในแต่ละสาขาและกระบวนการวิจัยยังทำให้ผู้วิจัยได้มีการวางแผนเตรียมการและดำเนินการอย่างเป็นระบบจนค้นพบความจริง
สร้างความรู้ใหม่ที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์
นอกจากนี้
การวิจัยได้พัฒนาคุณลักษณะให้ผู้วิจัยต้องมีการคิดวิเคราะห์มีความคิดสร้างสรรค์
มีความ
ซื่อสัตย์ มีความอดทน
นับได้ว่าการวิจัยมีบทบาทและความสำคัญทั้งในการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ
การพัฒนาคนและพัฒนางานและส่งผลไปสู่การพัฒนาประเทศ
ตาราง 1 บทบาทครูและผู้เรียนในการเรียนการสอนแบบครูใช้ผลการวิจัย
แนวทางการใช้การวิจัย
ในการเรียนการสอน
|
บทบาทครู
|
บทบาทผู้เรียน
|
แนวทางที่ 1 ครูใช้ผลการวิจัย
ในการเรียนการสอน
ครูใช้ผลการวิจัยประกอบ
การเรียนการสอนเนื้อหาสาระ
ต่าง
ๆ ช่วยให้ผู้เรียนขยาย
ขอบเขตของความรู้
ได้ความรู้
ที่ทันสมัยและคุ้นเคยกับแนวคิด
การวิจั
|
- ครูสืบค้นแหล่งข้อมูลที่เกี่ยว
ข้องกับสาระที่สอน
- ครูศึกษางานวิจัย/ข้อมูลข่าว
สาร/องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ
เนื้อหาสาระ
- ครูนำผลการวิจัยมาใช้
ประกอบเนื้อหาสาระที่สอน
เสริมให้ผู้เรียนได้ความรู้เพิ่มขึ้น
เช่น
ครูนำผลงานวิจัยเกี่ยวกับ
เรื่องพืช
หรือสุขภาพ มาเสริม
การเรียนรู้สาระดังกล่าว
- ประยุกต์ใช้ในการเรียน
การสอน
เช่น ครูอ่านผลการ
วิจัยเกี่ยวกับทฤษฎี
ความคาดหวังและนำมาใช้กับ
นักเรียน
เป็นต้น
- ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปราย
เกี่ยวกับผลการวิจัย/กระบวน
การวิจัย/ความสำคัญของการ
วิจัย
- ครูวัดและประเมินผลการ
เรียนรู้เกี่ยวกับผลการวิจัย/
กระบวนการวิจัยควบคู่กับ
การเรียนรู้สาระตามปกติ
|
- เรียนรู้เนื้อหาสาระโดยมีผล
การวิจัยประกอบ
ทำให้ผู้เรียน
คุ้นเคยกับเรื่องของ
การวิจัย
การแสวงหาความรู้
การใช้เหตุผล
ฯลฯ
- อภิปรายประเด็นต่าง
ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับผลการวิจัย/
กระบวนการวิจัย/ความสำคัญ
ของการวิจัย
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น